ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำชับให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม., พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ รอง ผบช.สตม. และ พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม. จึงได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปราม สืบสวนจับกุม ของ สตม. บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ในการนี้ พล.ต.ต.ศุภณัฎฐ์ เจริญเรืองสกุล ผบก.ตม.5 จึงสั่งการให้ หน่วยงานในสังกัดเข้มงวดในการป้องกันปราบปรามบุคคลต่างด้าวลักลอบเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมให้ดำเนินการขยายผลจับกุมผู้นำพา ผู้ช่วยเหลือและผู้ร่วมขบวนการจนถึงที่สุด
ตม.จว.เชียงใหม่ โดยการอำนวยการของ พ.ต.อ.ศราวุธ วะเท ผกก.ตม.จว.เชียงใหม่ และ พ.ต.ท.หญิง พัสษลพร ศุกระศร รอง ผกก.ตม.จว.เชียงใหม่ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่งานสืบสวนปราบปรามฯ บูรณาการร่วมกับ หน่วยงานความมั่นคงภายในพื้นที่ ทำการสืบสวนเพื่อจับกุมคนต่างด้าว ซึ่งได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 หรือความผิดตามกฎหมายอื่น
วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ตม.จว.เชียงใหม่ ได้รับแจ้งจาก เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งได้ออกตรวจลาดตระเวนในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง พบรถยนต์กระบะต้องสงสัย มีหลังคาฝาปิดด้านข้างอย่างมิดชิดและขับขี่ด้วยความเร็วสูง จึงได้ขับติดตามและทำการสกัดจับ ผลการตรวจสอบพบบุคคลต่างด้าวสัญชาติเมียนมา จำนวน 24 คน พร้อมคนขับชาวไทย ให้การยอมรับว่า มีนายหน้าจ้างวานให้รับตัวคนต่างด้าวทั้งหมด ไปส่ง ณ พื้นที่อำเภอดอยเต่า เพื่อจะไปรับจ้างหางานทำ
ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. ของวันเดียวกัน ตม.จว.เชียงใหม่ ร่วมกับ พมจ.เชียงใหม่, แรงงานจังหวัดเชียงใหม่, อำเภอจอมทอง, ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ และ พงส.สภ.จอมทอง ได้ลงพื้นที่ร่วมคัดแยกเหยื่อการค้ามนุษย์ ตามแผนกลไกการส่งต่อระดับชาติ (NRM) ผลการตรวจสอบ ผู้ต้องหาทั้งหมดไม่ได้เป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์แต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้ควบคุมผู้ต้องหาทั้งหมด พร้อมของกลางที่เกี่ยวข้องในคดี นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.จอมทอง เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป