ประวัติความเป็นมา

ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่เปิดทำการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ใช้ชื่อว่า ตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ตำบลสันมหาพล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีหัวหน้าด่านระดับ สว. ต่อมาในปี พ.ศ.2511 ได้ย้ายที่ทำการมาตั้งอยู่เลขที่ 30 ( บริเวณสี่แยกข่วงสิงห์ ) ถนนโชตนา ( เชียงใหม่ – ฝาง ) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ ในปี พ.ศ.2527 ได้ย้ายมาตั้งอยู่เลขที่ 71 หมู่3 ถนนสนามบิน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 3 ตารางวา ซึ่งอยู่ห่างจากสนามบินประมาณ 200 เมตร จนถึงปัจจุบัน 
และได้มีการปรับปรุงโครงสร้างตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ( ฉบับที่ 22 ) พ.ศ.2526 ยกฐานะขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกองกำกับการ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2537 กำหนดชื่อใหม่เป็น ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงใหม่ กองตรวจคนเข้าเมือง 3 พ.ศ.2548 ขึ้นการบังคับบัญชากับ ศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ปัจจุบัน มีหัวหน้าด่าน ระดับ ผกก.

พื้นที่รับผิดชอบ

จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของภาค เหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา มีทิวเขาล้อมรอบเป็นแนว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าและภูเขาและที่ราบเชิงเขา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 20,107,057 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,566,910 ไร่ มีประชากร 1,582,222 คน แบ่งเป็น 22 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐฉานของประเทศสหภาพพม่า โดยมีสันปันน้ำของดอยคำ, ดอยปกกลา, ดอยหลักแต่ง, ดอยถ้ำป่อง, ดอยถ้วย, ดอยผาวอก, ดอยอ่างขาง อันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขตตลอดแนวยาว ประมาณ 227 กิโลเมตร ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเชียงราย, จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน บริเวณที่ติดต่อกับจังหวัดเชียงรายและจังหวัดลำปางมีร่องน้ำลึก และแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง, ดอยหลุมข้าว, ดอยแม่วังน้อย, ดอยวังผา, ดอยแม่โต เป็นเส้นกั้นอาณาเขต บริเวณที่ติดต่อกับจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วย, ดอยช้างสูง และร่องแม่น้ำปิง เป็นเส้นกั้นอาณาเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปายขุนยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสันปัน น้ำดอยกิ่งแดง, ดอยแปรเมือง, ดอยแม่ยะ, ดอยอังเกตุ, ดอยแม่สุรินทร์, ดอยขุนยวม, ดอยหลวง, ร่องแม่น้ำปิง, แม่ออน และสันปันน้ำดอยขุนแม่ตื่น เป็นเส้นกั้นอาณาเขต ระยะทางจากด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงใหม่ ไปยังอำเภอชายแดนต่างๆ มีดังนี้ – อำเภอเวียงแหง มีระยะทางประมาณ 159 กิโลเมตร (ถึงจุดผ่อนปรนหลักแต่ง บ้าน เปียงหลวง ตำบลเปียงหลวง ประมาณ 177 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง) – อำเภอเชียงดาว มีระยะทางประมาณ 74 กิโลเมตร (ถึงจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก บ้านอรุโณทัย ตำบล เมืองนะ ประมาณ 123 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที – อำเภอไชยปราการ มีระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที – อำเภอฝาง ระยะทางประมาณ 153 กิโลเมตร (ถึงช่องทางปางมุ้น บ้านหนองเต่า ตำบลม่อนปิ่น ประมาณ 188 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง) – อำเภอแม่อาย ระยะทางประมาณ 174 กิโลเมตร (ถึงช่องทางสันต้นดู่ บ้านสันต้นดู่ บ้านสันต้นดู่ ตำบลท่าตอน ประมาณ 187 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที)

ช่องทางอนุญาต

จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก

ที่ตั้ง/เส้นทางการเดินทาง จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก ณ บ้านอรุโณทัย หมู่ 10 ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ห่างจากที่ทำการประมาณ 123 กม. และจาก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 70 กติดกับบ้านป่าแขม เมืองหาง สหภาพพม่า ความเป็นมา ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ได้ ประกาศเปิดจุดผ่อนปรน ณ ช่องทางกิ่วผาวอก ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2540 ตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2540 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การผ่านเข้า-ออกพรมแดนเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง ตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2540 และตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2540 เนื่องจากสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย พม่า มีความตึงเครียดมาก จงมีการระงับการผ่านด่านเข้า-ออก ไม่มีการค้าข่ายสินค้าบริเวณจุดผ่อนปรน ณ ช่องกิ่วผาวอก ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2545 เป็นต้นมา และได้เปิดอีกครั้งตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 22 มกราคม 2551 การเปิดจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก เปิดให้มีการค้าขายสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นในชีวติประจำวันของราษฎรไทย-พม่า บริเวณชายแดนไม่เกิน 200 เมตร เปิดสัปดาห์ละ 3 วัน ทุกวันพฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ เปิด-ปิด ตันแต่เวลา 06.00-18.00 น. ตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 22 มกราคม 2551 เริ่มเปิดตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2551 เป็นต้นไป เมื่อทางการไทยได้เปิดจุดผ่อนปรนช่องกิ่วผาวอก แต่ปรากฏว่าทางการพม่าไม่ยอมเปิดประตูจุดผ่านแดนเพื่ิออนุญาตให้มีการเข้า-ออก และการค้าขายระหว่างกัน แต่อย่างใด จึงเป็นการเปิดจุดผ่านแดนเพียงฝ่ายเดียวของไทย

จุดผ่อนปรนหลักแต่ง

ที่ตั้ง/เส้นทางการเดินทาง จุดผ่อนปรนช่องทางหลักแต่ง บ้านหลักแต่ง หมู่ 1 ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ มีอาณาเขตอยู่ใกล้เคียงกับเมืองเตาะ เมืองทา เมืองสาด และชุมชุนรัฐฉานประเทศพม่า คามเป็นมา การเปิดจุดผ่อนปรน ณ ช่องทางหลักแต่ง บ้านเปียงหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เืพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าบริเวณชายแดน และกระชับความสัมพันธ์ระดับท้องถิ่น ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทย กับเมืองเตาะ เมืองทา เมืองสาด และชุมชุนรัฐฉาน ประเทศพม่าที่มีอาณาจักรติดกับประเทศไทย ตามนโยบายส่งเสิรมความสัมพันธ์ระดับท้องถิ่น และนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค กลุ่มแ่ม่น้ำโขงตอนบน ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมติของคณะกรรมการส่งเสริมการค้าชาดแดน ไทย-พม่า จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2541 และความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านปรน ณ ช่องทางหลักแต่ง บ้างเปียงหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ราษฎรไทย – พม่า เดินทางไปมาหาสู่และซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคระหว่างสองประเทศ การเปิดจุดผ่อนปรนหลักแต่ง มีการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการค้าชายแดนไทย – พม่า ณ บริเวณจุดผ่อนปรนช่องทางหลักแต่ง ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น. ตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 27 เมษายน 2541 เริ่มเปิดตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2541 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์บริเวณแนวชายแดนไทย-พม่า มีความตึงเครียดมาก จากปัญหาการสู้รบภายในประเทศพม่า ทางการไทยจึงปิดจุดผ่อนปรนดังกล่าว ตั้นแต่วันที่ 27 มีนาคม 2545